เมนู

อรรถกถาอัญโญ อนุสโยติกถา



ว่าด้วย อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง คืออย่างอื่นจากปริยุฏฐาน.
ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า
ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตเป็นกุศล หรืออัพยากตะกำลังเป็นไป พึงกล่าวได้ว่า
เขามีอนุสัย แต่ไม่พึงกล่าวว่าเป็นผู้มีปริยุฏฐาน เพราะฉะนั้น อนุสัยก็
เป็นอย่างหนึ่ง ปริยุฏฐานก็เป็นอย่างหนึ่ง ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า
กามราคานุสัยอย่างหนึ่ง เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่อง
อนุสัยกถา ในหนหลังนั้นนั่นแหละ.
อนึ่ง คำว่า ผู้มีอนุสัย เป็นต้น ท่านย่อมแสดงซึ่งความที่คำอัน
บุคคลพึงกล่าวว่า ปุถุชนชื่อว่าเป็นผู้มีอนุสัยเพราะความที่ผู้นั้นยังมิได้
ละอนุสัยในขณะนั้น และย่อมแสดงซึ่งความที่คำอันบุคคลพึงกล่าวว่า
บุคคลเป็นผู้มีปริยุฏฐานเพราะกิเลสอนุสัยนั้นยังมิได้เกิดขึ้น มิใช่แสดง
ถึงความที่อนุสัยกิเลสเป็นคนละอย่างกับปริยุฏฐานกิเลส เพราะฉะนั้น
คำที่ยกมาอ้างนั้น จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่าอนุสัยเป็นคนละอย่างกับปริยุฏฐาน
ดังนี้แล.
อรรถกถาอัญโญอนุสโยติกถา จบ

ปริยุฏฐาน จิตตวิปปยุตตันติกถา



[1578] สกวาที ปริยุฏฐานไม่ประกอบกับจิต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปริยุฏฐาน วิปปยุตจากจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล
จิตเศร้าหมอง ไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตเป็นอกุศล
จิตเศร้าหมอง มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิต
เป็นอกุศล จิตเศร้าหมอง มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ปริยุฏฐานไม่ประกอบ
กับจิต ดังนี้.
ปริยุฏฐาน จิตตวิปปยุตตันติกถา จบ